top of page

มาตรฐานป้ายคลินิกที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตาม

อัปเดตเมื่อ 5 วันที่ผ่านมา


มาตรฐานป้ายคลินิก


ป้ายคลินิกไม่ใช่เพียงแค่สิ่งบ่งบอกตำแหน่งที่ตั้ง แต่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สะท้อนมาตรฐานและความเป็นมืออาชีพของสถานพยาบาล การติดตั้งป้ายที่ถูกต้องตามกฎหมายไม่เพียงช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวก แต่ยังสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับสถานพยาบาลอีกด้วย



ป้ายคลินิกที่ถูกต้องตามกฎกระทรวง มีดังนี้

ป้ายคลินิกที่ถูกต้องตาม กฎกระทรวงสถานพยาบาล พ.ศ. 2560 และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการสถานพยาบาล ต้องมีป้ายที่ระบุข้อมูลสำคัญดังนี้

ตัวอย่างป้ายคลินิก
ป้ายต่าง ๆ ที่ต้องมีในคลินิกตามที่กฎกระทรวงกำหนด

ขนาดและรูปแบบของป้าย

การติดตั้ง ป้ายในคลินิก เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ผู้มาใช้บริการได้รับข้อมูลชัดเจน และสะดวกในการใช้งานพื้นที่ต่าง ๆ โดยตำแหน่งการติดตั้งป้ายในคลินิกควรพิจารณาตามจุดที่เหมาะสมและเป็นไปตามกฎหมาย


  1. การติดป้ายภายนอกคลินิก

ป้ายหน้าคลินิกมีความสำคัญในการระบุสถานพยาบาลให้ชัดเจน สื่อสารข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้รับบริการ และสร้างความน่าเชื่อถือ การออกแบบและติดตั้งป้ายต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย เพื่อสะท้อนถึงมาตรฐานและความเป็นมืออาชีพของคลินิก


A ป้ายหน้าร้าน

การติดป้ายหน้าร้านที่ถูกต้องและปลอดภัย ไม่เพียงช่วยปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและดึงดูดลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนล่วงหน้าและออกแบบป้ายให้เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจในระยะยาว

ป้ายหน้าคลินิก
ตัวอย่างป้ายหน้าร้าน

วัตถุประสงค์: เป็นป้ายหลักที่แสดงตัวตนของคลินิก เป็นจุดแรกที่ผู้ป่วยจะสังเกตเห็น

คุณสมบัติ

  • ประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ

  • เพิ่มความประทับใจให้ลูกค้า

  • ดึงดูดลูกค้า

  • การจดจำแบรนด์


ตำแหน่งการติดตั้ง:

  • ด้านหน้าอาคารในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน

  • ระดับสายตาหรือสูงกว่าเล็กน้อย

  • ไม่บดบังทางสัญจร



  • ข้อห้ามเกี่ยวกับป้ายคลินิกตามกฎหมาย


    ข้อห้ามเกี่ยวกับป้ายคลินิก

ห้ามโฆษณาเกินจริง

ห้ามใช้ข้อความที่สื่อว่ารักษาโรคหายขาด เช่น "หายแน่นอน 100%"

ห้ามใช้คำที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น "แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอันดับ 1"


ห้ามใช้ข้อความหรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม:

เช่น ภาพเปรียบเทียบก่อน-หลังการรักษาที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด


E ป้ายอนุญาตให้ประกอบการพยาบาล

ป้ายอนุญาตให้ประกอบการพยาบาลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยยืนยันว่าคลินิกดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีมาตรฐานและความปลอดภัยในการให้บริการ ซึ่งช่วยเสริมความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากผู้รับบริการ ทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาทางกฎหมายและเสริมภาพลักษณ์ของคลินิกในระยะยาว


ป้ายอนุญาตประกอบสถานพยาบาล
ป้ายอนุญาตประกอบสถานพยาบาลสีต้องเป็นไปตามที่กระทรวงกำหนด

คุณสมบัติของป้ายอนุญาตให้ประกอบการพยาบาล

ขนาดป้ายอนุญาตประกอบสถานพยาบาล
ขนาดของป้ายทีกระทรวงกำหนด

วัตถุประสงค์: แสดงความถูกต้องตามกฎหมายและสร้างความน่าเชื่อถือ


คุณสมบัติ

  • ขนาดมาตรฐาน: กว้างไม่ต่ำกว่า 40 ซม. × ยาวไม่น้อยกว่า 120 ซม.

  • ตัวอักษรชื่อคลินิก: ความสูงไม่ต่ำกว่า 10 ซม.

  • วัสดุ: ทนทานต่อสภาพอากาศ ไม่เลือนง่าย


ข้อมูลที่ต้องแสดง:

  • ชื่อคลินิกภาษาไทยที่ตรงกับใบอนุญาต

  • เลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการ

  • ประเภทของคลินิก


ตำแหน่งการติดป้าย

  • ด้านหน้าอาคารในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน

  • ระดับสายตาหรือสูงกว่าเล็กน้อย

  • ไม่บดบังทางสัญจร.



G ป้ายแจ้งวันเวลาทำการของคลินิก

ป้ายแจ้งวันเวลาทำการของคลินิกเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้รับบริการทราบข้อมูลที่จำเป็น ช่วยลดความสับสน และเพิ่มความสะดวกในการเข้ารับบริการ อีกทั้งยังเสริมภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพและสร้างความไว้วางใจให้แก่คลินิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ป้ายแจ้งวันเวลาทำการของคลินิก
ป้ายต้องแจ้งวัน-เวลา ข้อมูลติดต่อเบื้องต้น

วัตถุประสงค์: แจ้งช่วงเวลาให้บริการ

คุณสมบัติ

  • ป้ายแสดงข้อมูล วัน-เวลา ที่ให้บริการ (ข้อมูลตรงตามที่ได้รับอนุยาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล)

  • ช่องทางติดต่อนอกเวลา


ตำแหน่งการติดตั้งป้าย

  • บริเวณหน้าคลินิก ใกล้ประตูทางเข้า, เคาน์เตอร์ต้อนรับ

  • ป้ายควรอ่านง่าย มองเห็นได้ชัดเจนทั้งกลางวันและกลางคืน

  • และไม่ถูกบดบังโดยสิ่งของอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ



ป้ายห้ามสูบบุหรี่

เป็นอีกป้ายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคลินิก เนื่องจากเป็นสถานที่ให้บริการด้านสุขภาพและมีผู้ป่วยที่ต้องการสภาพแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัยจากควันบุหรี่


จุดติดป้ายห้ามสูบบุหรี่
ป้ายห้ามสูบบุหรี่

ตำแหน่งการติดตั้ง

  • ตำแหน่งที่ชัดเจนและมองเห็นง่าย เช่น

  • ออกแบบให้สื่อความหมายชัดเจน ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานสากล



2.ป้ายภายในคลินิกที่แสดงตามจุดต่างๆ

เป็นป้ายที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับค่าบริการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงความเชื่อมั่นในทีมผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ป่วยทราบข้อมูลเบื้องต้นอย่างโปร่งใสและเข้าใจง่าย ซึ่งขนาดของป้ายควรพิจารณาตามพื้นที่ติดตั้งและจุดที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยป้ายที่แสดงตามจุดต่างๆภายในคลินิก


ติดป้ายภายในคลินิก
ตำแหน่งการติดป้ายต่าง ๆ ภายในคลินิก

B ป้าย Black drop

ป้าย  Black drop เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้มาใช้บริการเกิดความประทับใจ แสดงจุดยืน ทัศนะคติ แนวคิด รสนิยม

และการจดจำแบรนด์


ป้าย Black Drop

วัตถุประสงค์: สร้างบรรยากาศและเอกลักษณ์ภายในคลินิก

คุณสมบัติ

  • ดึงดูด สร้างความจดจำแบรนด์ให้ลูกค้า

  • ป้ายต้องมีความโดดเด่น สวยงาม คงทน


ตำแหน่งการติดตั้ง

  • ติดตั้งบริเวณหลังเคาน์เตอร์ต้อนรับ

  • บริเวณห้องรับรอง หรือที่ลูกค้าสามารถนั่งถ่ายภาพได้สะดวกสบาย

  • ควรคำนึงถึงความมั่นคง แสงสว่าง และการออกแบบที่ดึงดูด



C ป้ายเคาน์เตอร์ต่าง ๆ

ป้ายหน้าเคาน์เตอร์คลินิกมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารข้อมูลและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วย ช่วยเพิ่มความสะดวก ลดความสับสน และส่งเสริมภาพลักษณ์ของคลินิกให้ดูเป็นมืออาชีพและมีมาตรฐาน


ป้ายเคาน์เตอร์คลินิก

วัตถุประสงค์: ระบุจุดให้บริการต่างๆ ชัดเจน


ประเภทของป้าย:

  • ป้ายจุดลงทะเบียน

  • ป้ายจุดชำระเงิน

  • ป้ายจุดรับยา

  • ป้ายประชาสัมพันธ์


คุณสมบัติ

  • สามารถสอบถามเกี่ยวกับการใช้บริการได้

  • ค่ารักษา หรือค่าบริการต่าง ๆ

  • ชิ้นงานสวยงาม ชัดเจนต่อการมองเห็น

  • มีความแข็งแรง และใช้งานได้ยาวนาน


ตำแหน่งการติดตั้ง

  • ติดในระดับสายตา

  • ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่พอให้อ่านได้ชัดเจน

  • มีไฟส่องสว่างเพียงพอ



D ป้ายห้องตรวจ / และป้ายชื่อแพทย์ผู้รับผิดชอบ

ป้ายห้องตรวจและป้ายชื่อแพทย์ผู้รับผิดชอบมีบทบาทสำคัญในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพในคลินิก ช่วยลดความสับสน สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคลินิก ป้ายเหล่านี้ยังสะท้อนถึงความใส่ใจในรายละเอียดและความเป็นมืออาชีพของสถานพยาบาลอีกด้วย


ป้ายห้องตรวจแพทย์
ตัวอย่างการติดป้ายหน้าห้องตรวจ

วัตถุประสงค์: ระบุห้องตรวจและข้อมูลแพทย์

คุณสมบัติ

  • หมายเลขห้องตรวจ

  • ชื่อแพทย์และคุณวุฒิ

  • ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

  • ตารางเวลาตรวจ


ตำแหน่งการติดตั้ง

  • ติดข้างประตูหรือบริเวณทางเข้าห้องตรวจ

  • ใช้ระบบป้ายที่สามารถเปลี่ยนข้อมูลได้

  • มีขนาดที่เหมาะสม อ่านง่าย


กฎหมายและข้อกำหนด

  • พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

กำหนดให้สถานพยาบาลแสดงข้อมูลที่ชัดเจน รวมถึงป้ายห้องตรวจและป้ายชื่อแพทย์

  • ข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข

ระบุว่าป้ายที่แสดงชื่อแพทย์และตำแหน่งต้องชัดเจนและตรงตามความจริง

  • มาตรฐานความปลอดภัย

การติดตั้งป้ายต้องมั่นคง ปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่อการหลุดร่วง


F ป้ายแจ้งการแพ้ยา

ป้ายแจ้งการแพ้ยามีบทบาทสำคัญในการป้องกันอันตรายจากการใช้ยา หรือผู้ใช้บริการมีโรคประจำตัว มีการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ช่วยลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรงกับผู้ใช้บริการอีกด้วย


ป้ายแจ้งแพ้ยา

วัตถุประสงค์: เพิ่มความปลอดภัยในการให้บริการ

คุณสมบัติ

  • ผู้ใช้บริการมองเห็นป้ายได้ชัดเจน

  • เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยาและเกิดความปลอดภัยต่อลูกค้า


ข้อมูลที่ต้องมี:

  • รายการยาที่ผู้ป่วยแพ้

  • ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดการแพ้ยา

  • เบอร์โทรฉุกเฉิน


ตำแหน่งการติดตั้ง

  • จุดจ่ายยา

  • ห้องตรวจ

  • จุดให้บริการที่เกี่ยวข้องกับยา


ข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

กำหนดให้สถานพยาบาลมีมาตรการป้องกันอันตรายจากการจ่ายยา ซึ่งรวมถึงการแจ้งข้อมูลการแพ้ยาให้ชัดเจน

  1. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

ข้อมูลการแพ้ยาต้องถูกต้องและชัดเจน เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วย



H ป้ายถังดับเพลิง

ป้ายถังดับเพลิงในคลินิกมีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัย ช่วยระบุที่ตั้งของอุปกรณ์ดับเพลิง และเพิ่มความพร้อมในการรับมือเหตุฉุกเฉิน เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงจากเหตุเพลิงไหม้ ทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยและบุคลากรในคลินิกอีกด้วย


ป้ายถังดับเพลิง
ถังดับเพลิงควรติดตั้งอยู่ในจุดที่มองเห็นชัดเจน

วัตถุประสงค์: ระบุตำแหน่งอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อความปลอดภัย

ตำแหน่งการติดตั้ง

  • ติดป้ายไว้ใกล้ถังดับเพลิงในจุดที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น บริเวณทางเดิน ทางออกฉุกเฉิน หรือใกล้ประตู

  • ควรติดในบริเวณที่ไม่มีสิ่งกีดขว

  • ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานสากล

  • เลือกสีที่สะดุดตา เช่น สีแดงหรือสีขาว-แดง

  • ติดตั้งป้ายในระดับ 1.2-1.5 เมตร จากพื้น เพื่อให้อยู่ในระดับสายตา


มาตรฐานที่ต้องปฏิบัติตาม:

  • กฎหมายควบคุมอาคาร

  • มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย


สรุป

การติดป้ายคลินิกที่ถูกต้องตามกฎหมายไม่เพียงแต่ช่วยให้คลินิกดำเนินกิจการได้อย่างถูกต้อง แต่ยังสร้างความน่าเชื่อถือ ช่วยประชาสัมพันธ์ และเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยและบุคลากรในคลินิก ดังนั้น การออกแบบและติดตั้งป้ายที่มีข้อมูลครบถ้วน จัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม และปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด ถือเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับมาตรฐานการให้บริการของคลินิก


ข้อเสนอแนะ

หากต้องการคำปรึกษาเรื่องการ ทำป้ายคลินิกหรือการขออนุญาตเปิดคลินิกอย่างถูกต้อง ติดต่อคลินิกเดคคอร์ พร้อมให้คำแนะนำและดูแลคุณในทุกขั้นตอน


ปรึกษา & สอบถามเพิ่มเติม คลิก : m.me/clinicdeccor


———————————————


Facebook Official: Clinic Deccor

Tel. 093-424-1559 / 063-896-0577


ติดต่อสอบถามข้อมูลการทำป้ายคลินิก





Comments


บริการทั้งหมด

สินค้า

ติดต่อสอบถาม

CLINICDECCOR

สำรวจพื้นที่ให้คำปรึกษา

ออกแบบคลินิก

ตกแต่งคลินิก

ขอใบอนุญาตคลินิก

ออกแบบโลโก้

ผลิตสื่อโซเชียลมีเดีย

เตียงทรีทเม้นท์
เฟอร์นิเจอร์
เครื่องมือแพทย์ความงาม
โคมไฟคลินิก
อุปกรณตกแต่งคลินิก

แจ้งปัญหา
ปรึกษาปัญหา
ประเมินราคาเบื้องต้น
ขั้นตอนการทำงาน

633/1 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา  กรุงเทพมหานคร 10120

Asset 5_3x.png
QR CODE

Copyright © 2020 clinicdeccor.com All Rights Reserved

bottom of page