top of page

"พระราชบัญญัติสถานพยาบาล" สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องรู้

อัปเดตเมื่อ 4 วันที่ผ่านมา


พรบ.สถานพยาบาล

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดมาตรฐาน กฎเกณฑ์ และข้อบังคับสำหรับการดำเนินกิจการสถานพยาบาล ทั้งในภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วย ยกระดับคุณภาพบริการทางการแพทย์ และสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการสถานพยาบาล ในบทความนี้เราได้รวบรวมบทบาทสำคัญและข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการสถานพยาบาลควรรู้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้



พระราชบัญญัติสถานพยาบาล


จุดเด่นของ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล

จุดเด่นของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

  1. ส่งเสริมการพัฒนาสถานพยาบาล

    • รองรับการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก

    • สนับสนุนการพัฒนาสถานพยาบาลรูปแบบใหม่ เช่น คลินิกชุมชน รถพยาบาลเคลื่อนที่ หรือบริการทางไกล (Telemedicine)

  2. ปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคสมัย

    • แก้ไขเพิ่มเติม 3 ครั้ง (พ.ศ. 2547, 2555, 2559) เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์และเทคโนโลยี


 พ.ร.บ. สถานพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

  1. ควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน

    กำหนดมาตรฐานสถานพยาบาล เช่น สภาพแวดล้อม เครื่องมือแพทย์ และบุคลากร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย

  2. ส่งเสริมความโปร่งใส

    กำหนดให้สถานพยาบาลแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่าย ชื่อผู้ประกอบวิชาชีพ และสิทธิของผู้ป่วยอย่างชัดเจน


นิยามสำคัญในพระราชบัญญัติ

สถานพยาบาล : หมายถึงสถานที่ ที่ จัดบริการรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันโรค หรือวิจัยทางการแพทย์ ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาล : บุคคลหรือนิติบุคคลที˙ได้รับอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาล


ใครบ้างที่ควรรู้จักพระราชบัญญัติ นี้ ?

เจ้าของสถานพยาบาล : เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายและรักษามาตรฐาน

บุคลากรทางการแพทย์ : เพี่อใจข้อกําหนดและสิทธิในสถานพยาบาล

ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป : เพื่อรับทราบสิทธิและมาตรฐานบริการที่ควรได้รับ


การกํากับควบคุมสถานพยาบาลจากอดีต-ปัจจุบัน

พ.ศ. 2541 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล โดยตรา “พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. 2541” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541-ปัจจุบัน พร้อมการแก้ไขเพิ่มเติมในบางประเด็นเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง พ.ร.บ.สถานพยาบาล ประกอบด้วยกัน 4 ฉบับ



1. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

วางกรอบมาตรฐานการจัดตั้งดําเนินงานของสถานพยาบาล กําหนดนิยามของ "สถานพยาบาล" และ"ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาล" ครอบคลุมการกํากับดูแลทั้งถานพยาบาลของรัฐและเอกชน มีข้อกําหนด เกี่ยวกับการขออนุญาตจัดตั้ง การดําเนินงาน และบทลงโทษ สําหรับการกระทําผิด


2. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547

แก้ไขนิยามของ "สถานพยาบาล" และ "ผู้ประกอบวิชาชีพ" ให้ครอบคลุม มากขึ้น

รองรับการให้บริการใหม่ เช่น การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มข้อกําหนดด้านการจัดการบุคลากรและมาตรฐานการให้บริการ

 

3. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่3) พ.ศ. 2555

เน้นมาตรการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยในการให้บริการ เพิ่มบทบาทเจ้าหน้าทีในการตรวจสอบและควบคุม วางหลักเกณฑ์ด้านการบริหารจัดการและการรับรองสิทธิผู้ป่วย


4. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559

บังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559

เพิ่มมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วย เช่น สิทธิในการได้รับข้อมูล เกี่ยวกับการรักษา เพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที'ให้สามารถตรวจสอบและควบคุมสถานพยาบาลได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น บังคับให้สถานพยาบาลรายงานเหตุการณ์สำคัญหรือความผิดพลาด ทางการแพทย์ ปรับปรุงบทลงโทษให้เหมาะสมและรัดกุมยิ่งขึ้น


กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 7 ฉบับ

กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 7 ฉบับนี้ มีบทบาทสําคัญในการกําหนดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติสําหรับสถานพยาบาลในประเทศไทย เพื่อบริการทางการแพทย์มีคุณภาพปลอดภัย และคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยอย่างเหมาะสม



ฉบับที่ 1 กําหนดวิชาชีพและจํานวนผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล พ.ศ. 2558

  • กําหนดประเภทวิชาชีพที่ สามารถประกอบกิจการในสถานพยาบาลได้ เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เป็นต้น

  • กําหนดจํานวนผู้ประกอบวิชาชีพขั้นต่ำสถานพยาบาลประเภทต่าง ๆ เพื่อบริการได้ตามมาตรฐาน


บับที่ 2  กําหนดวิชาชีพและจํานวนผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560

แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมจากฉบับแรกเพื่อให้ครอบคลุมการให้บริการใหม่ เช่นการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนทางเลือกเพิ่มความยืดหยุ่นในการกําหนดจํานวนผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลขนาดเล็ก


ฉบับที่ 3  กําหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558

กำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาล เช่น โครงสร้างอาคาร การจัดสรรพื้นที่ ระบบระบายอากาศ และสุขอนามัย ครอบคลุมลักษณะการให้บริการ เช่น บริการตรวจโรค บริการผ่าตัด บริการฟื้นฟูสุขภาพ


ฉบับที่ 4 กำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2562

  • แก้ไขปรับปรุงข้อกําหนดเรื่องมาตรฐานสถานพยาบาล เช่น ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบน้ำและไฟฟ้าสำรอง

  •  เพิ่มการกําหนดลักษณะของบริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ เช่น บริการทางไกล (Telemedicine)


ฉบับที่ 5 กำหนดชื่อสถานพยาบาล และการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาลผู้ประกอบวิชาชีพ ในสถานพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาลค่ายาและเวชภัณฑ์ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นและสิทธิ์ผู้ป่วย พ.ศ. 2562

กําหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อสถานพยาบาลให้เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดบังคับให้แดงสดงรายละเอียดค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารักษา ค่ายา อย่างโปร่งใสต่อประชาชน ย้ำถึงสิทธิผู้ป่วยเช่น สิทธิในการได้รับข้อมูลและการเลือกวิธีการรักษา


ฉบับที่ 6  กําหนดชนิดและจํานวนเครื่องมือเครื่องใช้ยาและเวชภัณฑ์ หรือยานพาหนะที่จำเป็นประจําสถานพยาบาล พ.ศ. 2558

ระบุเครื่องมือแพทย์ที่สถานพยาบาลต้องมี เช่น เครื่องตรวจเลือด เครื่อง X-ray รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในกรณีฉุกเฉิน


ฉบับที่ 7 กำหนดชนิดและจำนวนเครื่องมือเครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ หรือยานพาหนะที่จำเป็น ประจําสถานพยาบาล (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2562 แก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดฉบับปี 2558

  • เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางการแพทย์และความต้องการของประชาชน กําหนดมาตรฐานขั้นต่ำของอุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ ทุกสถานพยาบาลต้องมีเครื่องมือและยาที่จำเป็น เช่น อุปกรณ์ช่วยชีวิตและยาช่วย ฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

  • เพิ่มข้อกำหนดเฉพาะสําหรับบริการพิเศษ: คลินิกความงามต้องมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เลเซอร์ทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรอง เครื่องมือทันตกรรมที่จำเป็น เช่น ชุดเครื่องมือสําหรับขูดหินปูน สําหรับคลินิกเฉพาะทาง เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์


พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115/ตอนที่ 15 ก/หน้า  32/24 มีนาคม 2541)


พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ 2541

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 กำหนดนิยาม ขอบเขตการบังคับใช้ และหน้าที่ของรัฐมนตรีในการควบคุมและกำกับมาตรฐานสถานพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสรุปพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 1-6 ดังนี้

มาตรา 1

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541”

มาตรา 2

เริ่มบังคับใช้วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 3

ยกเลิกพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2504

มาตรา 4:

  • นิยาม "สถานพยาบาล" ครอบคลุมสถานที่และยานพาหนะสำหรับการรักษาและประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ทุกประเภท เช่น เวชกรรม การพยาบาล ทันตกรรม เภสัชกรรม การแพทย์แผนไทย และการแพทย์แผนไทยประยุกต์

  • "ผู้ป่วย" หมายถึงผู้รับบริการ

  • "ผู้รับอนุญาต" และ "ผู้ดำเนินการ" หมายถึงผู้ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


มาตรา 5

  • กฎหมายนี้ไม่บังคับใช้กับสถานพยาบาลของรัฐ เช่น หน่วยงานกระทรวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสภากาชาดไทย

  • สถานพยาบาลที่ยกเว้นยังต้องรักษามาตรฐานตามที่รัฐมนตรีกำหนด


มาตรา 6

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา


พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115/ตอนที่ 15 ก/หน้า 32/24 มีนาคม 2541)

หมวด 2 การประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดําเนินการสถานพยาบาล

หมวดที่ 2 ของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เป็นส่วนสำคัญที่กำหนดหลักเกณฑ์และข้อบังคับในการจัดตั้งและดำเนินกิจการสถานพยาบาล เพื่อให้บริการทางการแพทย์มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับประชาชน ดยมีบทบาทและความสำคัญในด้านต่าง ๆ ดังนี้


หมวดที่ 2 ของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เป็นหัวใจสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลการจัดตั้งและดำเนินการสถานพยาบาล เพื่อให้มั่นใจว่าสถานพยาบาลทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด มีบุคลากรที่มีคุณภาพ และให้บริการที่โปร่งใสและปลอดภัยแก่ประชาชน ถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยยกระดับระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด


พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115/ตอนที่ 15 ก/หน้า 32/24 มีนาคม 2541

หมวด 3 พนักงานเจ้าหน้าที่

หมวดที่ 3 ของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ระบุถึงบทบาท อำนาจหน้าที่ และความสำคัญของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบสถานพยาบาลเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเหมาะสม มาตรานี้มีบทบาทสำคัญในการรักษามาตรฐานและความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย



พนักงานเจ้าหน้าที่ในหมวดที่ 3 เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจสอบและควบคุมสถานพยาบาล รวมถึงการป้องกันการละเมิดกฎหมาย ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสถานพยาบาลทั่วประเทศ


พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115/ตอนที่ 15 ก /หน้า 32  / 24 มีนาคม 2541

หมวด 4 การปิดถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญาต

ในหมวด 4 ว่าด้วยการปิดสถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญาต เป็นกลไกสำคัญในการกำกับดูแลคุณภาพและความปลอดภัยของสถานพยาบาล โดยกำหนดบทบาทของผู้อนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับสถานพยาบาลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือส่งผลเสียหายต่อสาธารณชน


การปิดสถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญาต มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลและควบคุมสถานพยาบาลให้ดำเนินงานตามมาตรฐาน หากพบการละเมิดกฎหมาย ผู้อนุญาตมีอำนาจดำเนินการอย่างเหมาะสม ทั้งการปิดสถานพยาบาล การเพิกถอนใบอนุญาต และการคุ้มครองผู้ป่วยในช่วงเปลี่ยนผ่าน มาตรการเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัย ความเชื่อมั่น และความยั่งยืนในระบบบริการสุขภาพของประเทศ



พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115/ตอนที่ 15 ก/หน้า 32/24 มีนาคม 2541)

หมวด 5 บทกําหนดโทษ

หมวดที่ 5 ของ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มีความสำคัญในการกำหนดบทลงโทษต่อผู้ประกอบการสถานพยาบาลที่ฝ่าฝืนกฎหมายและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้



บทกำหนดโทษ มีบทบาทสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายสถานพยาบาลเพื่อรักษามาตรฐานความปลอดภัยและความโปร่งใสในระบบบริการสุขภาพ การกำหนดโทษทั้งในรูปแบบปรับและจำคุก ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบควบคุมสถานพยาบาล และคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย


พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะ และการประกอบวิชาชีพฯ

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดขอบเขตและมาตรฐานของสถานพยาบาลและยานพาหนะที่ใช้ในบริการทางการแพทย์ เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยและยกระดับคุณภาพบริการด้านสุขภาพในประเทศไทย 


อุปกรณ์และสถานที่สถานพยาบาล

สถานที่และยานพาหนะ 

สถานที่หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ (รวมถึงยานพาหนะ เช่น รถพยาบาล) ที่ถูกจัดตั้งหรือเตรียม ไว้เพื่อการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข


ยานพาหนะ 

ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การขนส่ง แต่รวมถึงการใช้งานเพื่อบริการทางการแพทย์ เช่น รถพยาบาลที่มีเครื่องมือช่วยชีวิต


การประกอบโรคศิลปะ

การปฏิบัติงานด้านการรักษาโรค หรือกิจกรรมทางการแพทย์ที่ต้องใช้ความรู้ควาสามารถ เฉพาะทางเป็นงานที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาฟื้นฟูสุขภาพหรือป้องกันโรค

การประกอบวิชาชีพฯ ครอบคลุมถึง การประกอบวิชาชีพในด้านการแพทย์และสาธารณสุขทุกประเภท เช่น   การตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ (เวชกรรม) การพยาบาลและการผดุงครรภ์   การทําทันตกรรม  การใช้เภสัชกรรมในการจ่ายยา  การทํางานของนักเทคนิคการแพทย์และบุคลากรการแพทย์แผนไทย   การแพทย์ทางเลือก เช่น การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือการรักษาโดยการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ

 

สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อ การประกอบโรคศิลปะ และการประกอบวิชาชีพฯ


วัตถุประสงค์

 

  • ขยายขอบเขตของสถานพยาบาล ไม่ได้จํากัดเฉพาะอาคารหรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่รวมถึงรถพยาบาลเคลื่อนที่ คลินิกชุมชน หรือสถานที่ชั่วคราวสําหรับการรักษา

 

  • รองรับรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย เพื่อให้การบริการทางการแพทย์สามารถครอบคลุมทุกสถานการณ์ เช่น การแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกล หรือการใช้บริการรถพยาบาลที่มีเครื่องมือครบครัน


  • ควบคุมมาตรฐานบริการทางการแพทยืเพื่อให้มั่นใจว่าว่าสถานพยาบาลหรือยานพาหนะที่ใช้เพื่อการแพทย์ทุกประเภท ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดกําหนด และอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ

 

ตัวอย่าง เช่น


  สถานที˙: โรงพยาบาล คลินิกทันตกรรม คลินิกผิวหนัง

  ยานพาหนะ: รถพยาบาลฉุกเฉินที่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตครบครัน หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่


ประกาศกระทรวงกําหนดชื่อสถานพยาบาล

กฎกระทรวงฉบับนี้ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เพื่อกําหนดมาตรฐานในการตั้งชื่อและแสดงรายละเอียดของสถานพยาบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความโปร่งใสและมาตรฐานในการให้บริการของสถานพยาบาลรวมถึงป้องกันการเข้าใจผิดของประชาชนเกี่ยวกับบริการทางการแพทย์ที่ได้รับ โดยมีสาระสําคัญดังนี้


1.การกําหนดชื่อสถานพยาบาล

ชื่อสถานพยาบาลต้องสื่อถึงประเภทและลักษณะการให้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลนั้นๆ ให้บริการห้ามใช้ชื่ออาจอาจก่อให้เกิดความ เข้าใจผิดหรือสับสนแก่ประชาชน


2.การแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาล 

สถานพยาบาลต้องแสดงชื่อ   ที่ได้รับอนุญาตอย่างชัดเจนในสถานที่และเอกสารที่เกี่ยวข้องต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถาน พยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆ และสิทธิของผู้ป่วย


 สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนให้ใช้พื้นแผ่นป้ายสีขาวและตัวอักษรในแผ่นป้ายแสดงชื่อให้

ใช้สี ดังต่อไปนี้


ตัวอย่างสีป้ายอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

คลินิกเวชกรรมให้ใช้: ตัวอักษรสีเขียว

คลินิกทันตกรรมให้ใช้: ตัวอักษรสีม่วง

คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้ใช้: ตัวอักษรสีฟ้า

คลินิกกายภาพบําบัดให้ใช้: ตัวอักษรสีชมพู

คลินิกเทคนิคการแพทย์ให้ใช้: ตัวอักษรสีเลือดหมู

คลินิกการแพทย์แผนไทยให้ใช้: ตัวอักษรสีน้ำเงิน

คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ให้ใช้: ตัวอักษรสีทอง

คลินิกประกอบโรคศิลปะให้ใช้: ตัวอักษรสีน้ำตาล

คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมให้ใช้: ตัวอักษรสีเขียว


คํานิยาม

“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล หรือ ใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาล

"ผู้อนุญาต" หมายความว่า อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพมอบหมาย

"ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

"ผู้ดําเนินการ" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาล

"ผู้ประกอบวิชาชีพ" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ และผู้ประกอบวิชาชีพฯ

"ผู้ประกอบวิชาชีพ" หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ และผู้ประกอบวิชาชีพฯ


ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล หรือ ใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาล

ออกให้กับ เจ้าของกิจการ หรือ ผู้ประกอบกิจการ เพื่ออนุญาตให้เปิดและดําเนินกิจการสถานพยาบาลได้ตามกฎหมาย มีการแสดงใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ และอนุญาตดําเนินการสถานพยาบาลไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย


ใบแสดงการดำเนินการสถานพยาบาล
ตัวอย่างการแสดงใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล หรือ ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล

มีใบชําระค่าธรรมเนียมสถานพยาบาลเป็นปัจจุบัน มีการแสดงป้ายชื่อพร้อมรูปถ่าย เลขที่ใบอนุญาตของแพทย์ทที่ทําการรักษา

การมี ใบชำระค่าธรรมเนียมสถานพยาบาลที่เป็นปัจจุบัน รวมถึงการ แสดงป้ายชื่อพร้อมรูปถ่ายและเลขที่ใบอนุญาตของแพทย์ ที่ทำการรักษามีความสำคัญในหลายมิติ ทั้งในด้านกฎหมาย ความโปร่งใส และความไว้วางใจของประชาชน


ใบผู้ประกอบวิชาาชีพในสถานพยาบาล

สรุป

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นคุณภาพ ความปลอดภัย และความโปร่งใส ทั้งในส่วนของสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ การแสดงเอกสารและป้ายข้อมูลอย่างชัดเจนไม่เพียงช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน แต่ยังส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานบริการทางการแพทย์ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน หากต้องการศึกษารายละเอียดของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คลิกที่นี่

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด

Comments


บริการทั้งหมด

สินค้า

ติดต่อสอบถาม

CLINICDECCOR

สำรวจพื้นที่ให้คำปรึกษา

ออกแบบคลินิก

ตกแต่งคลินิก

ขอใบอนุญาตคลินิก

ออกแบบโลโก้

ผลิตสื่อโซเชียลมีเดีย

เตียงทรีทเม้นท์
เฟอร์นิเจอร์
เครื่องมือแพทย์ความงาม
โคมไฟคลินิก
อุปกรณตกแต่งคลินิก

แจ้งปัญหา
ปรึกษาปัญหา
ประเมินราคาเบื้องต้น
ขั้นตอนการทำงาน

633/1 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา  กรุงเทพมหานคร 10120

Asset 5_3x.png
QR CODE

Copyright © 2020 clinicdeccor.com All Rights Reserved

bottom of page